มีดกลึง เกรด 1900,2500,Co.8
ยี่ห้อ โชกุ(CHUOKU)
ติดต่อสอบถาม

มีดกลึง CHUOKU เกรด 1900,2500,CO8

คือ อุปกรณ์ในการใช้ตัดเฉียนงานให้เป็นรูปร่างในแบบที่ต้องการ เพราะเนื่องจากคุณสมบัติของมีดกลึงนั้นมีความเหนียวแน่นจึงทำให้ทนทานต่อการแตกร้าวและทนความร้อนได้สูง โดยมีส่วนประกอบสำคัญคือ เหล็ก 

 

ลักษณะของมีดกลึงที่นิยมใช้นั้นมี 3 แบบ

1. มีดกลึงกลม CHUOKU*พิเศษ! ถ้าสั่งมีจำนวน มีราคาพิเศษให้*

 มีดกลึงกลม CHUOKU

 

2. มึดกลึงเหลี่ยม CHUOKU*พิเศษ! ถ้าสั่งมีจำนวน มีราคาพิเศษให้*

มึดกลึงเหลี่ยม CHUOKU

 

3. มีดกลึงแบน CHUOKU*พิเศษ! ถ้าสั่งมีจำนวน มีราคาพิเศษให้*

มีดกลึงแบน CHUOKU

 

มุมของมีดกลึงจะประกอบไปด้วย 3 มุมดังนี้ 

1.มีดกลึงมุมคายขี้ (Rake Angles) - ซึ่งจะมีทั้งมุมคายขี้ด้านหลังและด้านหน้า 

*เปรียบเทียบการตัดวัสดุต่างๆด้วยมุมคายขี้ของมีดกลึง

โลหะที่ตัด ทองเหลือง/เหล็กหล่อ เหล็กแข็ง/  เหล็กหล่อแข็ง เหล็กเหนียวคาร์บอนปานกลาง/เหล็กหล่อนิ่ม เหล็กเหนียว/  เหล็กคาร์บอนต่ำ อะลูมิเนียมโลหะเบา
มุมคายขี้  0°  8°  14°  20°- 27°  40°

 

2.มีดกลึงมุมหลบ (Clearance Angles) - ซึ่งจะมีทั้งมุมหลบด้านหน้าและมุมหลบด้านข้าง

*เปรียบเทียบการตัดมุมค่าหลบและมุมคายขี้ของมีดกลึงไฮสปีด

วัสดุที่นำมากลึง มุมหลบหน้า มุมหลบข้าง มุมคายขี้บน มุมคายขี้ข้าง มุมคมตัดหน้า มุมคมตัดข้าง
กลึงเหล็กเหนียว 8 10 12 15 70 65
กลึงเครื่องมือ 8 10 8 12 74 68
กลึงเหล็กหล่อ 8 8 5 12 77 70
กลึงทองเหลือง 8 10 0 0 82 80
กลึงทองสัมฤทธิ์ 8 10 0 0 82 80
กลึงอะลูมิเนียม 8 12 35 15 47 63

 

3.มีดกลึงมุมคมตัด (Cutting Angles) - ซึ่งจะมีทั้งมุมคมตัดด้านหน้าและมุมตัดด้านข้าง

 

ชนิดของมีดกลึง แบ่งเป็นตามนี้

1.มีดกลึงเหล็กไฮสปีด ซึ่งอาจจะต้องใช้ด้ามมีดกลึง (Tool Holder) หรือไม่ใช้ก้ได้ ขึ้นอยู่กับไซด์ของมีดกลึง

2.มีดกลึงหรือมีดเล็บคาร์ไบด์ ซึ่งจะมีทั้งมีดเล็บที่ถอดเปลี่ยนได้และมีดเล็บเชื่อมดาย

3.มีดเล็บเซรามิกถอดเปลี่ยนได้

 

วิธีการเลือกความเร็วในการตัดงานด้วยมึดกลึง มีดังนี้

1.วัสดุที่ใช้ในการกลึงงาน -กรณีที่วัสดุเป็นโลหะขนาดแข็งจะต้องตัดด้วยความเร็วต่ำกว่าวัสดุที่เป็นโลหะขนาดอ่อน

2.เครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกล -กรณีที่เป็นเครื่องกลึงเก่า จับมีดกลึงแล้วไม่แน่น

จะไม่สามารถใช้ความเร็วตัดในการกลึงได้เท่ากับเครื่องกลึงที่อยู่ในสภาพดี 

3.วัสดุที่ทำมีดกลึง 

วัสดุ ความเร็วในการกลึง
มีดกลึงที่ทำมาจากทังสเตนคาร์ไบด์และเซรามิก -ใช้ความเร็วกลึงสูง
มีดกลึงที่ทำมาจากเหล็กไฮสปีด -ใช้ความเร็วกลึงปานกลาง
มีดกลึงที่ทำมาจากเหล็กไฮคาร์บอน -ใช้ความเร็วในการกลึงต่ำ

 

4.ความลึกในการตัดและอัตราการป้อน

ความลึกในการตัดและอัตราการป้อนน้อย  -สามารถใช้ความเร็วตัดสูงได้
ความลึกในการตัดและอัตราการป้อนมาก -ไม่สามารถใช้ความเร็วตัดสูงได้

 

ตัวอย่าง *ความเร็วโดยเฉลี่ยสำหรับการกลึงด้วยมีดไฮสปีด หน่วยเป็น เมตร/นาที

  กลึงและคว้าน    
วัสดุ หยาบ ละเอียด กลึงเกลียว
อะลูมิเนียม 61 93 18
ทองสัมฤทธิ์ 27 30 8
เหล็กหล่อ 18 24 8
เหล็กเครื่องมือ 21 27 9
เหล็กเหนียว 27 30 11

 

มุมของมีดกลึง 

การลับมีดกลึง จะต้องลับมึดกลึงจากมุมต่างๆ ตามความต้องการของงาน เช่น มุมหลบด้านข้าง จะต้องมีไว้เสมอเพื่อให้การเดินหน้าในการตัดงานเป็นไปได้โดยสะดวก มุมหลบด้านหน้า มีไว้เพื่อมุมคมตัดสามารถตัดงานอย่างมีประสิทธิผลในขณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

  มีดกลึงมีดกลึง

1.มีดกลึงมุมตัดด้านข้าง (สัญลักษณ์ X อ่านว่า ไค) คือมุมลับคมที่ตัดเอียงทำมุมกับขอบของมึดกลึง

2.มีดกลึงมุมตัดด้านหน้า (สัญลักษณ์ Xn อ่านว่า ไคเอ็น) คือมุมลับคมเพื่อไม่ให้ผิวงานเสียดสีกับคมตัดด้านหน้า

3.มีดกลึงมุมหลบด้านหน้า (สัญลักษณ์ α อ่านว่าแอลฟา) คือมุมที่เกิดจากการลับคมมุมหลบด้านข้างกับมุมตัดด้านหน้า 

4.มีดกลึงหลบด้านข้าง (สัญลักษณ์ αn อ่านว่า แอลฟาเอ็น) คือมุมลับคมที่ไม่ได้มีดกลึงด้านข้างสัมผัสกับผิวงาน 

5.มีดกลึงมุมรวมคมตัด (สัญลักษณ์ ε อ่านว่า เอปไซลอน) คือมุมคมตัดที่เกิดจากมุมคมตัดด้านข้างและมุมตัดด้านหน้า

6.มีดกลึงมุมคาย (สัญลักษณ์ y อ่านว่า แกมมา) คือมุมที่ลับให้เอียงลาดต่ำไปถึงขอบของมีดกลึงอีกด้านหนึ่ง

7.มีดกลึงมุมลิ่ม (สัญลักษณ์ β อ่านว่า เบตา) คือมุมที่เกิดจากการลับคมหลบด้านข้างและมุมคาย

 

กลไกการป้อนมีดกลึง

โดยทั่วไปจะมีวิธีการป้อนมีดกลึงอยู่ 2 แบบ ดังนี้

1.การป้อนมีดกลึงจากป้อมมีดโดยใช้มือหมุน ซึ่งจะเป็นการป้อนที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผิวหน้าชิ้นงานกลึงได้หยาบ 

2.การป้อนมีดกลึงจากป้อมมีดโดยอัตโนมัติ เป็นการป้อนโดยใช้กลไกในการขับเคลื่อนแท่นป้อมมีดและแท่นเลื่อนขวางด้วยเพลาป้อน (Feed Shaft) เป็นตัวขับเคลื่อน 

มีดกลึง

 

ลักษณะของมีดกลึงที่ใช้ในงานกลึง

1.มีดกลึงปาดหน้า - เมื่อชิ้นงานถูกตัดด้วยเครื่องเลื่อยจะต้องมีการปาดหน้าเพื่อให้ผิวเรียบ ซึ่งจะมีทั้งปาดหน้าขวาและปาดหน้าซ้าย 

2.มีดกลึงปอก

3.มีดกลึงปอกแบบใช้ได้ทั้งซ้ายและขวา

4.มีดกลึงตกร่องบ่าฉากหรือมีดตัด

5.มีดกลึงขึ้นรูปร่องเว้า

6.มีดกลึงขึ้นรูปโค้งนูน

7.มีดกลึงเกลียวสามเหลี่ยม

8.มีดกลึงเกลียวใน

9.มีดกลึงรูใน

 

การตั้งมีดกลึงได้ระดับศูนย์หรือหนีจากศูนย์

โดยปกติการตั้งมีดกลึงจะตั้งให้อยู่ในระดับศูนย์พอดี ถ้าหากจะมีการตั้งคมมีดกลึงให้หนีจากศูนย์โดยส่วนมากจะนิยมใช้การกลึงปอกผิวงานซึ่งจะไม่มีผลต่อรูปร่างชิ้นงานที่กลึง แต่จะมีผลต่อเวลาการกลึงงานที่อาจกลึงได้ช้าอันเนื่องมาจากมุมมีดนั้นได้มีการเปลี่ยนไป สำหรับการกลึงอื่นๆ เช่น การกลึงเรียว การปาดหน้า การกลึงเกลียว เป็นต้น จะต้องตั้งคมมีดกลึงให้ได้ระดับศูนย์ เพราะงานกลึงจะไม่ได้ตามต้องการ 

 

ความเที่ยงตรงของการกลึงงาน

การที่จะให้ขนาดของงานกลึงมีความเที่ยงตรงนั้นจะต้องมีสภาวะการกลึงที่ดี คือ ทั้งเครื่องกลึง มีดกลึง และช่างกลึง ต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เช่น  กำลังเครื่องมีขนาดเพียงพอและเครื่องกลึงมีความมั่นคง อีกทั่งการใช้มีดกลึงที่ถูกต้องทั้งวัสดุของมีดกลึงและมุมมีดต่างๆ โดยปกติความเที่ยงตรงจากการกลึงงานจะมีดังนี้

1.สำหรับการกลึง/คว้านหยาบ

-ขนาด น้อยกว่าหรือมากกว่า 15 มิลลิเมตร สามารถกลึง/คว้านให้ได้อยู่ในช่วง +- 0.15 มิลลิเมตร

-ขนาด มากกว่า 50 มิลลิเมตร สามารถกลึง/คว้านให้ได้อยู่ในช่วง +- 0.40 มิลลิเมตร

2.สำหรับการกลึง/คว้านละเอียด

ขนาด น้อยกว่าหรือมากกว่า 15 มิลลิเมตร สามารถกลึง/คว้านได้อยู่ในช่วง +-0.05 มิลลิเมตร

ขนาด มากกว่า 50 มิลลิเมตร สามารถกลึง/คว้านให้ได้อยู่ในช่วง +-0.18 มิลลิเมตร

 

 

สอบถามราคามีดกลึงหรือข้อมูลเพิ่มเติ่ม

เบอร์โทรติดต่อ 02-744-3871-5  ต่อ102-105  FAX 02-748-5058

ID LINE : @BOWMAP    Website : http://www.bowmap.com/th

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2