=หัวจับ 4 จับ อิสระ (6นิ้ว)
3,800฿
ติดต่อสอบถาม

ยี่ห้อ: BINACHO (บิเนโก้) 

หัวจับหรือหัวจับเครื่องกลึง (Lathe Chucks)

TRICK : เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของหัวจับเครื่องกลึง 3 จับ และหัวจับเครื่องกลึง 4 จับ  

     หัวจับ 3 จับ   หัวจับ 4 จับ
หัวจับที่สามารถจับงานทรงสี่เหลี่ยมได้ :      NO YES
หัวจับที่สามารถจับงานทรงหกเหลี่ยมได้ :     YES NO
หัวจับที่สามารถ turn off-center ได้ :      NO YES

  

TRICK : เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของหัวจับเครื่องกลึงอิสระ และ หัวจับเครื่องกลึงแบบเข้าพร้อม

     หัวจับอิสระ     หัวจับเข้าพร้อม
หัวจับที่ประหยัดเวลาในการติดตั้ง :      NO YES
หัวจับที่จับรูปทรงแปลกๆได้ :      YES NO
หัวจับที่หาศูนย์กลางของงานกลึงได้ง่าย :      NO YES

 

วิธีการจับยึดหัวจับเครื่องกลึงกับเพลาหมุนที่หัวแท่นเครื่อง

โดยปกตินั้นหัวแท่นกลึง จะอยู่ทางด้านซ้ายของแท่นเครื่อง(ฺBED)

เป็นส่วนที่ใช้จับยึดหัวจับเครื่องกลึง ยันศูนย์หน้า หน้าจานพา หัวจับยันศูนย์ หัวจับคอลเลต

เพื่อทำการกลึงชิ้นงานโดยมีวิธีการจับยึดหัวจับเครื่องกลึงเข้ากับเพลา จะมี 2 แบบดังนี้

1.การจับยึดหัวจับแบบเเกลียว 

หัวจับยึดแบบเกลียว

 2.การจับยึดหัวจับแบบหน้าจานประกบ

หัวจับยึดแบบหน้าจานประกบ

ซึ่งหลังจากจับยึดหัวจับเข้ากับเครื่องกลึงแล้ว แกนหมุนของเพลาจะถูกขับให้หมุนด้วยมอเตอร์ โดยผ่านระบบฟันเฟืองหรือสานพานต่างๆที่ติดอยู่ใต้หัวแท่นสำหรับการเปลี่ยนความเร็วของเครื่องกลึงจะต้องหยุดเครื่องก่อนเสมอ ยกเว้น เครื่องกลึงพิเศษที่สามารถปรับความเร็วได้ต่อเนื่องขณะเดินเครื่องอยู่

 

หลักการทำงานของหัวจับ : หัวจับจะเป็นตัวจับยึดชิ้นงานให้แน่น และหมุนรอบตัวเองด้วยการส่งกำลังของมอเตอร์และชุดเฟืองทด หลังจากนั้นชิ้นงานจะถูกตัดเฉือนด้วยมีดกลึงที่เคลื่อนที่ไปตามแนวรางเลื่อนและป้อนมีดกินเนื้อตามแนวขวางเพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการ โดยส่วนมากจะนิยมกลึงงาน ดังนี้ กลึงงานปอก กลึงงานปาดหน้า  กลึงงานเกลียว กลึงงานลดขนาด  กลึงงานตกบ่า เจาะรู คว้านรู และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่ิงชิ้นงานที่ผลิตจากการกลึงจะได้แก่ ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่อวจักร เป็นต้น

ข้อควรระวังการใช้หัวจับ : ห้ามคาประแจขันหัวจับค้างไว้บนหัวจับ เพราะเมื่อเปิดเครื่องกลึง ประแจขันหัวจับอาจจะกระเด็นถูกตัวได้ 

 

วิธีการจับนอกและการจับในของหัวจับ เนื่องด้วยตัวชิ้นงานกลึงนั้นมีหลายรูปทรง ทั้งทรงสี่เหลี่ยม ทรงกระบอก ทรงกลม ทรงหกเหลี่ยมทำให้วิธีการจับงานกลึงมีความแตกต่างกัน สำหรับฟันของหัวจับนั้น สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.ฟันของหัวจับที่ไว้จับใน เหมาะสำหรับจับงานทรงกระบอก ทรงกลม ทรงหกเหลียมที่เป็นรูตันตามรูปที่แนบด้านล่างภาพ และยังสามารถจับใน ทรงวงแหวนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่จับผ่านภายในฟันกรรไกรประมาณ Diameter 1.1"(28 mm.)  เรียกได้ว่าการจับในนั้น นิยมใช้กันมากที่สุด

การจับในของหัวจับ

2.ฟันของหัวจับที่ไว้จับนอก เหมาะสำหรับจับชิ้นงานกลึงขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่จับผ่านภายในฟันกรรไกรประมาณ Diameter 2.7"(68 mm.)

การจับนอกของหัวจับ

การจับนอกของหัวจับ

วิธีกลึงงานด้วยเครื่องกลึงกับหัวจับ

การกลึงงานสามารถทำได้หลานวิธีดังนี้ กลึงปาดหน้า กลึงปอก กลึงเซาะร่อง บ่าฉาก กลึงขึ้นรูป กลึงเรียว กลึงเกลียว เจาะรู คว้านรู พิมพ์ลาย เป็นต้น 

1.การกลึงงานปาดหน้า โดยมีวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงให้ห่างจากปากจับหัวจับเครื่องกลึงประมาณ 10 มม. และตั้งปลายมีดกลึงปาดหน้าให้ได้ศูนย์กลางชิ้นงาน หลังจากนั้นเริ่มกลึงปาดหน้าจากจุดศูนย์กลางชิ้นงานไปสู่ขอบนอกของชิ้นงาน

 

2.การกลึงปอกและกลึงขนาด โดยมีวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและหมุนให้ได้ศูนย์กลาง สำหรับชิ้นงานที่มีรูปร่างยาวให้เจาะรูยันศูนย์ก่อน และตั้งมีดกลึงปอกให้ได้ศูนย์โดย มุมข้างมีด ทำมุมประมาณ 10-20 องศา  หลังจากนั้นให้ขีดเส้นร่องเล็กๆตามขนาดความยาวที่ต้องการบนชิ้นงานด้วยเวอร์เนียร์ไฮเกจ  เมื่อกลึงปอกความยาวไปได้ประมาณ 3 มม.แล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องด้วยเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ หลังจากนั้นทำการกลึงผิวงานให้เรียบละเอียดโดยเผื่อขนาดไว้ 0.5 มม.ก่อนเพื่อที่ขนาดความโต ความยาวจะได้ถูกต้อง

การกลึงปอก

 

3.การกลึงเซาะร่องบ่าฉาก โดยมีิวิธีคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและหมุนให้ได้ศูนย์กลาง สำหรับชิ้นงานที่รูปร่างยาวให้ยันศูนย์กับชุดศูนย์ท้ายแท่น หลังจากนั้นจับมีดกลึงเซาะร่องบ่าฉากให้ได้ศูนย์กลางชิ้นงานและทำการเริ่มเซาะร่องบ่าฉากตามขนาดที่กำหนดในแบบงานที่ต้องการ

 

4.การกลึงเซาะร่องโค้ง โดยวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและหมุนให้้ได้ศูนย์กลาง สำหรับชิ้นงานที่รูปร่างยาวให้ยันศูนย์กับชุดศูนย์ท้ายแท่น ตั้งมีดกลึงเซาะร่องให้ได้ศูนย์และวัดต่ำแหน่งกลึงเซาะร่อง ทำการปรับความเร็วรอบต่ำและเลื่อนมีดกลึงเซาะร่องให้โค้งไปตำแหน่งกลึง หลังจากนั้นทำการกลึงตามแบบที่กหนด

 

 

5.การกลึงงานขึ้นรูปโค้งนู้น โดยวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและหมุนให้้ได้ศูนย์กลาง และยันศูนย์กับชุดศูนย์ท้ายแท่น หลังจากนั้น จีบมีดกลึงให้ได้ศูนย์กลางชิ้นงาน เลื่อนมีดตรงตำแหน่งกลึงขึ้นรูปและกลึงขึ้นรูปตามแบบสั่งงานที่กำหนด

 

6.การกลึงงานกลึงเรียว โดยวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและยันศูนย์กับชุดศูนย์ท้ายแท่น ตั้งมีดกลึงให้ได้ศูนย์กลางชิ้นงานและตั้งมุมเรียวที่แท่นเลื่อนบน หลังจากนั้นจึงกลึงเรียวให้ได้ขนาดที่ต้องการตามแบบ

7.การกลึงงานเจาะรูนำศูนย์ โดยวิธีการคือ จับชิ้นงานด้วยหัวจับเครื่องกลึงและให้ชิ้นงานยื่นออกจากปากจับประมาณ 10 มม.หลังจากนั้นจับดอกเจาะนำศูนย์ที่หัวจับดอกสว่าน เลื่อนดอกเจาะนำศูนย์เข้าใกล้ชิ้นงานและเจาะรูนำศูนย์ลึกตามขนาดที่กำหนด 

 

เครดิตรูป https://www.youtube.com/การเจาะรู โดยใช้เครื่องกลึงยันศูนย์

 

สอบถามราคา หัวจับเครื่องกลึง หรือ Lathe Chucks

*พิเศษ จัดส่งฟรีในเขตสมุทรปราการและกรุงเทพ

เบอร์โทรติดต่อ 02-744-3871-5  ต่อ102-105  FAX 02-748-5058

ID LINE : @BOWMAP    Website : http://www.bowmap.com/th

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2